หน่วยงาน
เลขที่หนังสือ
วันที่
เรื่อง
คำค้นหา
เริ่มวันที่
วันที่สิ้นสุด
แสดง
รายการ
ประเภทการค้นหา
และ
หรือ
-
01/01/2547
การมอบอำนาจด้านการบริหารงานบุคคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณราการ
รายละเอียด: - คำสั่ง ที่ 118/2547 เรื่อง มอบอำนาจด้านการบริหารงานบุคคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2547 * ดำเนินการทางวินัยข้าราชการ - คำสั่ง ที่ 516/2547 เรื่อง มอบอำนาจด้านการบริหารงานบุคคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2547 * ดำเนินการทางวินัยพนักงานราชการ
1011/ว 29
25/12/2566
การดำเนินการทางวินัยกรณีข้าราชการพลเรือนสามัญถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยกรณีมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว
รายละเอียด: กรณีตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยต่างกรมในกระทรวงเดียวกันกรณีเรื่องความสัมพันธ์ฉันชู้สาว ในการจะพิจารณาว่าเป็นการกระทำผิดวินัยร่วมกันหรือไม่ ตามมาตรา 94 ควรพิจารณาจากมูลกรณีที่ถูกกล่าวหาเป็นสำคัญ โดยไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ไปถึงพฤติการณณ์ของบุคคลในเรื่องที่เกี่ยวข้องว่ามีเจตนากระทำร่วมกันหรือไม่
นร 1011/ว 4
10/02/2566
การกำชับให้ใช้มาตรการทางการบริหารแก่ข้าราชการที่มีพฤติการณ์เข้าข่ายกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
รายละเอียด: กำชับให้ผู้บังคับบัญชากำกับดูแลให้ข้าราชการประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบคุณธรรม จริยธรรม และวินัย รวมทั้งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด
นร1011/ว 21
22/12/2565
กําชับให้ผู้บังคับบัญชารายงานการดําเนินการทางวินัย และปฏิบัติตามมติ อ.ก.พ. กระทรวง โดยเร็ว
รายละเอียด: แจ้งเวียนมติ ก.พ. ให้กำชับผู้บังคับบัญชารายงานการดำเนินการทางวินัยต่อ อ.ก.พ. กระทรวงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด และหาก อ.ก.พ. กระทรวงมีมติประการใดให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามมติ อ.ก.พ. กระทรวงโดยเร็ว
นร1011/ว 2
26/02/2557
กำหนดตำแหน่งประธานกรรมการตามกฏ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556
รายละเอียด: การกำหนดตำแหน่งประธานกรรมการตามกฏ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556
นร 1011/ว 16
25/08/2566
แนวทางการลงโทษข้าราชการที่กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
รายละเอียด: 1. ก.พ. มีมติเห็นชอบให้คงแนวทางการลงโทษข้าราชการที่ทุจริตต่อหน้าที่ตามหนังสือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0205/ว 234 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2536 ที่กำหนดแนวทางว่าควรลงโทษเป็นไล่ออกจากราชการ การนำเงินที่ทุจริตไปแล้วมาคืนหรือมีเหตุอันควรปรานีอื่นใดไม่เป็นเหตุลดหย่อนโทษลงเป็นปลดออกจากราชการ และเห็นควรให้ยกเลิกหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0611/ว 2 ลงวันที่ 30 มกราคม 2528 โดยให้ใช้แนวทางการลงโทษข้าราชการที่กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการตามหนังสือฉบับนี้แทน อย่างไรก็ตาม การที่จะสั่งลงโทษข้าราชการสถานหนักถึงขั้นไล่ออกจากราชการจะต้องมีพยานหลักฐานชัดเจนพอสมควรว่าผู้กระทำผิดมีเถยจิตหรือเจตนาทุจริตต่อหน้าที่ราชการด้วย 2. มาตรา 85 (1) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้บัญญัติลักษณะการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ไว้ 2 ลักษณะ คือ 1. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และ 2. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต ซึ่งเฉพาะการกระทำผิดในลักษณะปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริตเท่านั้น ที่จะต้องดำเนินการลงโทษผู้กระทำผิดตามแนวทางการลงโทษนี้
ปช 0026/ว 0020
18/08/2566
แนวทางการรายงานคำสั่งให้ดำเนินการสอบสวนทางวินัยแก่เจ้าพนักงานของรัฐในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบ ตามมาตรา 136แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
รายละเอียด:
นร 1011/ว 35
28/09/2553
หลักเกณฑ์การมอบหมายอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย
กค 0527.6/ว 79
21/08/2543
การลงโทษลูกจ้างประจำผู้กระทำผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง
กค 0420/ว 78
15/06/2560
หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างจากเงินงบประมาณ งบบุคลากร รายการค่าจ้างชั่วคราวของส่วนราชการที่มีสำนักงานอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. 2560
นร(กคร)0106/ว174
30/01/2568
การซักซ้อมแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดให้มีการเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
รายละเอียด: ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีได้กำหนดห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการเรี่ยไรหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรี่ยไร เว้นแต่จะเข้าเงื่อนไขของข้อยกเว้น โดยให้หน่วยงานถือปฏิบัติต่อไป
นร 1011/ว22
18/10/2567
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญหยุดปฏิบัติหน้าที่
รายละเอียด: เนื่องจากกรณีศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบประทับฟ้องข้าราชการพลเรือนสามัญโดยไม่มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ในเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดอาญา ตามมาตรา 93 ประกอบมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นการนำบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยอนุโลม กำหนดให้ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคำพิพากษา แต่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มิได้มีบทบัญญัติที่กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญหยุดปฏิบัติหน้าที่ มีแต่กรณีที่คล้ายคลึงกัน คือ การพักราชการ หรือการให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามมาตรา 101แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบข้อ 78 ถึงข้อ 84 ของกฎ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามมาตรา 93 ประกอบมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ก.พ. จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนหยุดปฏิบัติหน้าที่ โดยกรณีนี้ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ต้องมีคำสั่งให้พักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน ซึ่งจะต้องสั่งให้มีผลเป็นปัจจุบันเพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ทั้งนี้ หากต่อมาศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก ก็จะเป็นความผิดวินัยตามมาตรา 85 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
นร 1011/ว35
หลักเกณฑ์การมอบอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย
รายละเอียด: หลัเกณฑ์เกี่ยวกับผู้บังคับบัญชาตามมาตา 57 จะมอบอำนาจหน้าที่ตามหมวด 7 การดำเนินการทางวินัยให้ผู้บังคับบัญชาระดับต่ำลงไปปฏิบัติแทน ตามมาตรา 90 วรรคสาม